ด้วยความตั้งใจที่อยากจะรักษา เฮือนลานนาประยุกต์และรูปแบบสถาปัตยกรรมอันเป็นมรดกวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของเมืองแพร่ให้คงอยู่ จึงได้แยกงานออกมาเป็นส่วนคณะทำงานเฉพาะด้าน โดยมีโครงสร้างเหลื่อมซ้อนกันอยู่กับข่ายลูกหลานเมืองแพร่ โดยเริ่มแรกสร้างการรับรู้และมุ่งรักษาเฉพาะตัวอาคารแต่จากประสบการณ์ทำงานที่มากขึ้น ประกอบกับการได้เรียนรู้ผ่าน เครือข่าย และองค์กร จึงปรับรูปแบบการทำงานโดยมุ่งค้นหาสาเหตุของการรื้อบ้านไม้ขาย ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาของเมืองที่ขาดแคลนทุนและเศรษฐกิจ รวมทั้งการอพยพของคนวัยทำงาน ซึ่งเป็นผลกระทบต่อการพัฒนาท้องถิ่น ขาดการสืบทอดและต่อเนื่องของมรดกวัฒนธรรมประเพณี
วนมากระทบกับการรื้อบ้านขายเพื่อแบ่งปันมรดกกัน ขอบเขตของชมรมฯ จึงเข้าไปเกี่ยวก้องกับกระบวนการต่างๆ เช่น กองทุนสุขภาวะแห่งชาติ สภาพัฒนาการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อนำเสนอแนวทางและวิถีการดำเนินชีวิตที่พึ่งพาธรรมชาติ ร่วมรักษาและพัฒนามรดกวัฒนธรรมเพื่อนำมาใช้ต่อยอดในการประกอบอาชีพ สร้างมูลค่าเพิ่มโดยการใช้องค์ความรู้แบบใหม่ มาบริหารจัดการ รวมทั้ง การเลือกกิจกรรมที่จะถ่ายทอด ประชาสัมพันธ์ สร้างการตระหนักรู้ต่อชุมชนและท้องถิ่นต่อไป
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization – WHO)
ที่ปรึกษาโครงการ รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม และศ.ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง
เป็นโครงการที่ต้องการทบทวนข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของแต่ละชุมชนอย่างมีส่วนร่วม มีกิจกรรมหลากหลาย ได้แก่ การจัดเวทีเสวนา การเดินทัศนศึกษารอบกำแพงเมือง ต่อเนื่องด้วยกิจกรรมจัดพิธีกรรมเบิก ๔ ประตูเมืองและสืบชะตาเมือง โดยถ่ายทอดจากผู้เฒ่าผู้แก่สู่เยาวชนลูกหลาน ผลที่ได้จากโครงการ ได้ข้อมูลเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของชุมชนต่าง ๆ ในเขตกำแพงเมือง และของเมืองแพร่ในภาพรวม อย่างมีส่วนร่วม ทำให้เกิดพลังที่จะสร้างสรรค์งานต่อเนื่องออกไป และชุมชนมั่นใจในการพัฒนากิจกรรมของชุมชนด้วยตนเอง เกิดผลงานของกลุ่มทำงานต่าง ๆ คือ
กิจกรรมของชุมชนและวัด ได้แก่ กิจกรรมฟื้นพิธีกรรมเข้าเบิกและสืบชะตาเมือง การปรับปรุงพิพิธภัณฑ์วัดหลวง การรื้อฟื้นท่ารำพื้นเมืองเป็นท่าสำหรับการออกกำลังกาย การฟื้นการตีเครื่องเงิน การอบรมและปฏิบัติธรรม การฟื้นฟูลำเหมืองที่เน่าเสีย และการทำให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกิจการสาธารณะ เช่น การปรับภูมิทัศน์กำแพงเมือง
กิจกรรมของเยาวชน ได้แก่ การจัดรายการวิทยุด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของเมืองแพร่ กิจกรรมการอนุรักษ์กำแพงเมือง การจัดสาธิตแสดงพิพิธภัณฑ์มีชีวิตคุ้มเจ้าหลวง
กิจกรรมของครู ได้แก่ การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นศึกษาของโรงเรียนต่าง ๆ
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยผ่านทางมูลนิธิเล็กประไพ วิริยพันธุ์,
ที่ปรึกษาโครงการ รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม และ ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ
เป็นการสืบค้นประวัติศาสตร์สังคมของชุมชนโดยชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ใน ๕ พื้นที่คือ ในเวียง ป่าแดงช่อแฮ เวียงสอง สะเอียบ และเวียงต้า ผลของโครงการทำให้แกนทำงานแต่ละพื้นที่ตื่นรู้ ค้นคว้าทุนทางสังคมของพื้นที่ตนเอง และทำให้ได้ข้อมูลความรู้ประวัติศาสตร์สังคมและทุนทางสังคมในภาพรวมของแต่ละพื้นที่
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากศูนย์นานาชาติว่าด้วยการศึกษาการสงวนรักษาและบูรณะปฏิสังขรณ์มรดกวัฒนธรรม(International Centre for the Study of the Preservation and Restoration of Cultural Property – ICCROM),ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (SEAMEO Regional Centre for Archaeology and Fine Arts – SPAFA), องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ และได้รับการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากร
เป็นโครงการที่มุ่งให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราวมรดกวัฒนธรรมของสมาชิกในชุมชน ๔ พื้นที่ คือ ในเวียง ป่าแดงช่อแฮ สะเอียบ และเวียงต้า เพื่อฟื้นฟูสำนึกรักท้องถิ่นและร่วมกันรักษามรดกวัฒนธรรมของตนเองอย่างมีชีวิตชีวา กิจกรรมดำเนินงานได้แก่ การจัดวงสนทนาเชิงสร้างสรรค์ด้านมรดกวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ เป็นการสร้างเสริมกำลังใจและเชื่อมข่ายทำงานร่วมกัน สนับสนุนการฟื้นประเพณีพิธีกรรมและหาความหมาย และสนับสนุนการทำงานของชุมชนด้านมรดกวัฒนธรรม เพิ่มพูนความรู้ให้กับคนทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น การอบรมเรื่องแผนที่ การศึกษาดูงานพื้นที่ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งทำให้สมาชิกของชุมชนและผู้ปฏิบัติงานเกิดการเรียนรู้และได้ดึงความรู้จากภายในของแต่ละคนมาแลกเปลี่ยนกัน เป็นผลให้เกิดการขับเคลื่อนในหลายประเด็น เป็นต้นว่า พื้นที่ในเวียง กลุ่มเยาวชนที่มีใจรักงานด้านมรดกวัฒนธรรมดำเนินกิจกรรมด้านวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ได้ค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับเจ้าหลวง ทำแผนที่วัฒนธรรมและค้นประวัติเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง และสืบทอดต่อไปยังอนุชนรุ่นน้อง เยาวชนช่วยกันจัดพิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่บ้านวงศ์บุรี ซึ่งสามารถเปิดให้เข้าชมได้จนถึงปัจจุบัน พื้นที่ป่าแดงช่อแฮ มีกิจกรรมฟื้นพิธีกรรมและให้เยาวชนเรียนรู้หาความหมาย การดึงคืนการจัดงานพระธาตุโดยชุมชน(ซึ่งการจัดการเป็นการจัดจ้างโดยบริษัทมาหลายปี) การเลือกตั้งผู้นำแบบมติเอกฉันท์ซึ่งเป็นรากเหง้าของการเลือกตัวแทนในการจัดการน้ำของหมู่บ้านมาแต่ครั้งอดีต พื้นที่เวียงต้า ได้เกิดแกนนำที่นำพาเยาวชนสืบค้นเรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และสอนตัวเมืองแก่เยาวชนเพื่อช่วยกันแปลคัมภีร์ต่าง ๆ ในอนาคต พื้นที่สะเอียบ มีการฟื้นความหมายของพิธีกรรมและสถานที่ที่มีความหมายต่อชุมชน เช่น ขื่อเมือง นาไฮ่อ้อม ฯลฯ ให้เยาวชนได้เรียนรู้ มีการเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์สังคมรวมทั้งทุนทางนิเวศน์วัฒนธรรมของชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เป็นการฟื้นฟูสำนึกรักถิ่นนำสู่การช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำ พันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ ของชุมชนต่อมา การขับเคลื่อนกิจกรรมมรดกวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ เป็นที่น่าสนใจ จึงได้จัดการสัมมนาระดับภูมิภาค(อาเซียน)เรื่อง “ห้องเรียนเมืองแพร่”: การจัดการมรดกวัฒนธรรมมีชีวิต ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ โดยใช้การดำเนินงานของข่ายลูกหลานเมืองแพร่เป็นเวทีของการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการจัดการมรดกวัฒนธรรมมีชีวิตขึ้นในประเทศอาเซียนอื่น ๆ
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกลุ่มแก้ววรรณา
เป็นโครงการที่กลุ่มแก้ววรรณาตั้งใจว่าจะให้เป็นอาชีพ จึงลงทุนลงแรงกันเอง ทดลองในการเชื่อมโยงความรู้ด้านทุนทางสังคมเดิมของชุมชนกับการพัฒนาทางเทคโนโลยี/การตลาด โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาอาชีพอย่างมีอัตลักษณ์บนวิถีความพอเพียง ที่ปรับสมดุลระหว่างวิถีการค้ากับวิถีชุมชนอย่างกลมกลืนเป็นองค์รวม สามารถพึ่งตนเองได้จริงในสภาวการณ์ปัจจุบัน ปัจจุบันสามารถสร้างเครือข่ายผู้ทอผ้า ย้อมผ้า ออกแบบตกแต่ง ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์หม้อห้อมย้อมธรรมชาติชนิดต่าง ๆ ทั้งผลิตเพื่อใช้เอง และออกวางจำหน่าย ในราคาที่สมเหตุผล โดยมีตลาดรองรับได้
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาค และทุนในการดำเนินกิจกรรมบางส่วนจาก SPAFA
ได้รับการสนับสนุนบุคลากรที่เชี่ยวชาญกิจกรรมสำหรับเด็กจาก SPAFA กรมศิลปากร และผู้เชี่ยวชาญอิสระสาขาต่างๆ
บ้านหนังสือเป็นสถานที่สำหรับทำกิจกรรมสิ่งดี ๆ ที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งภายในให้กับคนเมืองแพร่รุ่นต่าง ๆ โดยเฉพาะในวัยเยาวชน ในอดีตเคยเป็นร้านจำหน่ายหนังสือคุณภาพคู่กับการเป็นห้องสมุด แต่ไม่สอดคล้องกับวิถีของชาวบ้าน ปัจจุบันจึงเหลือเพียงห้องสมุดเล็กๆ ที่จัดไม่มีวันเสร็จ และจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ทุกเดือน เป็นต้นว่า กิจกรรมจัดเวทีเสวนาคนในชุมชนกลุ่มต่างๆ เป็นระยะๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรรสร้างกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน กิจกรรมเพื่อสร้างสำนึกร่วมในกลุ่มเยาวชนและต่อเนื่องไปสู่ครอบครัว ได้แก่ การวาดภาพ,แสดงละคร จากการฟังเรื่องเล่าและเพลงของชุมชน การทำแผนที่ชุมชน ฝึกการปฏิบัติตนในวิถีชีวิตประจำวัน การประดิษฐ์ชิ้นงานตามจินตนาการ การปลูกพืชผักสวนครัวและเรียนรู้การทำอาหารภูมิปัญญาของชุมชน การย้อมหม้อห้อมธรรมชาติ เป็นต้น
ผลที่ได้จากการทำกิจกรรม ทำให้กลุ่มเด็กเล็กและกลุ่มเยาวชนได้ซึมซับความรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม ที่ดำเนินในชุมชน และในวัดที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เป็นอัตลักษณ์น่าภาคภูมิใจ รวมทั้งได้เรียนรู้สภาพภูมินิเวศน์ของท้องถิ่นของตนเองซึ่งเป็นทุนทางฐานทรัพยากรที่สำคัญ ได้ฝึกการเก็บข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ฝึกการวิเคราะห์สังเคราะห์ และแปลความหมายจากเรื่องราวที่ได้รับรู้ สะท้อนเป็นความเข้าใจของตนเองได้ โดยแสดงออกในรูปแบบต่างๆ เช่น การวาดภาพ การแสดงละคร เป็นต้นได้ฝึกการสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบ ประดิษฐ์ คิดค้นงานศิลปะต่างๆ ตลอดจนในการแสดงออกต่อสาธารณะ ได้เรียนรู้การดำเนินวิถีชีวิตประจำวันที่เหมาะสมผ่านทางการปฏิบัติจริง และได้เรียนรู้การใช้ชีวิต การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ให้รู้จักแบ่งปัน รอคอย และการใช้สิ่งของร่วมกัน ซึ่งต้องมีการจัดระเบียบชีวิต จัดสรรพื้นที่ของตนเองและกลุ่มอย่างสมดุล บนหลักการการเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ฝึกการเก็บออมเพื่อการใช้จ่ายของตนเอง และการทำความดี ได้เรียนรู้เรื่องแผนที่ อันเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้เรื่องอื่น โดยเฉพาะด้านการเชื่อมโยงจากสิ่งที่มีอยู่กระจัดกระจาย เข้ามาให้เห็นเป็นภาพรวม และได้ชิ้นงานศิลปะรูปแบบต่างๆ ที่เป็นฝีมือการออกแบบ และการสร้างสรรค์งานของแต่ละคน
ซึ่งทั้งหมดกล่าวได้ว่า เป็นพื้นฐานในการสร้างภูมิคุ้มกันภายในตัวเยาวชน ให้สำนึกและภาคภูมิใจในรากเหง้าของตนเอง ตลอดจนรู้จักคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ถอดความเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้รับรู้ มาเป็นความหมายของตนเอง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญภายในตัวแต่ละคนในอันที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น การรู้จักคิดและตัดสินใจ เมื่อได้กระทบกับเหตุการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
กลุ่มคนวัยทำงาน ได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างรุ่น โดยเฉพาะกับเด็กเยาวชนรุ่นใหม่ ตลอดจนได้มีเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่การสร้างความร่วมมือ ทำงานในลักษณะที่เชื่อมโยงวัฒนธรรมเดิมกับความรู้ใหม่ร่วมกัน
กลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ ทำให้ผู้เฒ่าผู้แก่ได้ภาคภูมิใจในองค์ความรู้ที่มีอยู่ และเห็นคุณค่าของตนเอง ลดความซึมเศร้า ตลอดจนได้รื้อฟื้นเรื่องราวที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อสังคม ออกมาเก็บบันทึกไว้ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเป็นคลังข้อมูลประวัติศาสตร์ในอนาคตได้
บ้านหนังสือได้เปิดทำกิจกรรมจนถึงปี ๒๕๕๒ และในปี ๒๕๕๓ กำลังจะปรับบทบาทให้เป็นแหล่งเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมมีชีวิตของเมืองแพร่ โดยความร่วมมือกับ ชมรมอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองแพร่ เทศบาลเมืองแพร่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ กลุ่มศิลปินในเมืองแพร่ และสปาฟา
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เป็นโครงการที่มุ่งสร้างให้เยาวชนมีภูมิคุ้มกันภายใน สามารถแยกแยะที่จะเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของตนได้ โดยใช้กิจกรรมการศึกษาภูมิปัญญา/มรดกวัฒนธรรมของชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะแนวทางวัฒนธรรมเดิมที่เน้นคุณค่าด้านจิตใจ และตัวอย่างการจัดการสังคมที่เป็นมิตรต่อฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม แล้ววิเคราะห์สังเคราะห์ความรู้ สื่อสารสู่สาธารณะทางสิ่งพิมพ์ วิทยุ และเคเบิ้ลทีวี เป็นเครื่องมือ
ดำเนินงานร่วมกับชมรมอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองแพร่
ปัจจุบันยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากแหล่งใดอย่างเป็นทางการ จึงดำเนินงานภายใต้เงินที่มีของคนทำงาน และได้รับงบประมาณสนับสนุนบางส่วนจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่
ได้รับการสนับสนุนบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมและโบราณคดี จากศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SPAFA) และกรมศิลปากร (ปี๒๕๕๓ SPAFA ได้รับทุนจากสถานเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ทำการเก็บข้อมูลบ้านเก่าในเมืองแพร่ และจัดพิมพ์หนังสือ “ผ่อบ้าน หันเมือง” ซึ่งมีทั้งภาคภาษาไทยและอังกฤษ)
เป็นโครงการที่มุ่งสร้างเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์บ้านโบราณในเมืองแพร่ โดยการรวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลความรู้ประวัติศาสตร์สังคมของเมืองแพร่ผ่านเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละบ้านโบราณ ประกอบกับข้อมูลทางภูมิสถาปัตยกรรมของบ้านแต่ละหลัง แปรเป็นข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวและเผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดแพร่ ซึ่งจะนำไปสู่การเป็น “เมืองมรดกวัฒนธรรมมีชีวิต” หรือ “Living Heritage” ในอนาคต ปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างดำเนินงาน
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานเทศบาลเมืองแพร่ โดยมีคณะทำงานจากศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SPAFA) เป็นคณะทำงานร่วมในการจัดกิจกรรม
เป็นโครงการที่พยายามจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อให้คนในเขตเทศบาลเมืองแพร่ได้รู้จักถิ่นฐานของตนเอง และแลกเปลี่ยนความรู้กัน สร้างความคุ้นเคยกัน ระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านั้น รูปแบบกิจกรรมเป็นการชวนกันนั่งรถสามล้อและขี่จักรยานไปตามเส้นทางต่าง ๆ ในเขตเทศบาลเมืองแพร่ แวะเสวนาตามสถานที่ที่มีความหมาย โดยมีผู้รู้ท้องถิ่นเป็นผู้เล่าเรื่องและเติมเต็มเรื่องราวด้วยสมาชิกที่ร่วมเดินทางด้วยกัน จบด้วยการร่วมกันกินอาหารพื้นเมืองที่เน้นการใช้วัตถุดิบและวัสดุธรรมชาติ ที่แม่บ้านชุมชนต่าง ๆ ผลิตมาขายเป็นลักษณะกาดแลง คละเคล้าด้วยเสียงดนตรีพื้นเมืองของเด็กเยาวชน นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมการจัดเวทีเสวนาในประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจของผู้คน เช่น การเรียนรู้แบบพาทำ(หวันตีนซิ่น) เวทีร่วมกันหาทางออกเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับปัญหาของโรงเรียนเจริญราษฎร์ เป็นต้น
หลังจากกิจกรรมดังกล่าวได้ผ่องถ่ายไปยังหน่วยงานอื่นต่าง ๆ โครงการนี้ได้พยายามหากิจกรรมรูปแบบอื่น ๆ เพื่อช่วยให้การขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ได้มีอย่างต่อเนื่อง โดยหวังที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งในการจัดการชุมชนด้วยตนเองของภาคประชาสังคมในอนาคต เช่น การเสวนาเรื่องราวในอดีตของเมืองแพร่ผ่านทางสื่อการฉายภาพยนตร์เก่า เวทีสภาคนแพร่เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของชาวเมืองแพร่ การจัดการเรียนการสอนแบบ”ห้องเรียนชีวิต” เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้กำลังดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป พร้อม ๆ กับการถอดบทเรียนอย่างมีส่วนร่วม เป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
วัตถุประสงค์โครงการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพขีดความสามารถของแกนนำ ภาคีเครือข่ายสุขภาพจังหวัดแพร่ทั้งภาครัฐ ภาคท้องถิ่น ภาคประชาคม เชื่อมโยงการทำงานบูรณาการร่วมกันเพื่อสร้างเมืองแพร่ให้เป็นเมืองแห่งความสุข โดยสนับสนุนการขับเคลื่อนกิจกรรมของพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองแพร่ และนอกเขตเทศบาลเมืองแพร่ จำนวน ๗ แห่ง เน้นกิจกรรมการพัฒนาด้านอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพ วัฒนธรรมภูมิปัญญาและสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆในระดับเครือข่ายและระดับพื้นที่ โดยมีกิจกรรมร่วมคือ เวทีสภาคนแพร่ ที่นำเรื่องราวของแต่ละพื้นที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นประจำ เพื่อสร้างสำนึกร่วมและจัดการความรู้ร่วมกัน แล้วเผยแพร่สู่สื่อสาธารณะเป็นการสร้างจิตสำนึกสู่คนรุ่นใหม่ต่อไป
สำหรับงานในเขตกำแพงเมืองแพร่ มีกิจกรรมแอ่วกาดกองเก่า (แอ่ว = เที่ยว, กาด = ตลาด, กอง = ถนน) ซึ่งเป็นการจัดพื้นที่กิจกรรมเพื่อให้เป็นแหล่งพบปะ ค้าขาย พูดคุยสังสรรค์ระหว่างคนในชุมชนเขตกำแพงเมือง โดยเน้นให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วมให้มากที่สุด มุ่งหวังให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ของคน ทุกเพศ ทุกวัย และทุกสถานะสุขภาพ
มีการแบ่งงานให้เด็กๆ ได้รับผิดชอบ เช่นการจัดการแยกขยะ การรับลงทะเบียน ชี้แจงและทำความเข้าใจกับพ่อค้า แม่ค้า โดยเน้นสินค้าที่คิดทำขึ้นเองของชาวชุมชน เพื่อเน้นให้เกิดกระบวนการคิดบนพื้นความรู้เดิมที่สืบทอดมา นำเสนอเป็น อาหาร พืชผักที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี ภาชนะบรรจุเน้นวัสดุธรรมชาติ รื้อฟื้นศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม (เช่น การสวดเบิก) รวมทั้งเป็นที่สันทนาการฉายภาพยนตร์เก่า พื้นที่ร่วมสมัย เวทีการแสดงของทุกเพศวัย นิทรรศการเรื่องราวกิจกรรมของผู้คน ตลอดจนสนับสนุนให้เยาวชนได้มาแสดงออกในความสามารถของตน เช่น บีบอย เป็นต้น
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากแผนงานพัฒนาสถาบันการศึกษาสาธารณสุขให้เป็นองค์กรการสร้างเสริมสุขภาพ(สอส.)
เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการ “ดาวของแผ่นดิน” ที่เปรียบให้นักศึกษาเป็นเสมือนดวงดาวที่จะช่วยกันเปล่งประกายให้โลกมีความสว่างไสว เรื่องราวของการให้ประโยชน์ต่อสังคม จนมีค่าในหัวใจคน มุ่งสร้างสำนึกสาธารณะให้กับนักศึกษาสาธารณสุขสถาบันต่าง ๆ 19 สถาบัน ฝึกฝนให้ได้รับความเข้าใจว่าจะกลายเป็นดาวที่มีคุณค่าได้อย่างไร ก่อนที่จะจบออกไปทำงาน
โครงการนี้จึงมุ่งที่จะชวนดวงดาวเหล่านี้ กลับสู่ท้องถิ่นบ้านเกิด ที่ซึ่งบรรพบุรุษได้สรรสร้างสิ่งดีงามไว้ในอดีต รอการต่อยอดการพัฒนาจากเหล่าลูกหลาน โดยเลือกให้มาเรียนรู้ท้องถิ่นเมืองแพร่ ร่วมกับข่ายลูกหลานเมืองแพร่ ค้นหาศักยภาพของชุมชน ร่วมกับน้อง ๆ เยาวชนของท้องถิ่น และหาช่องทางในการพัฒนาทางด้านสาธารณสุขจากศักยภาพที่เขามีเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของชุมชน ซึ่งหลังจบโครงการได้มีข้อเสนอเรื่องการทำธนาคารขยะ ที่ชุมชนกว่าร้อยละ 80 ได้มีการแยกขยะในครัวเรือนอยู่แล้ว และงานด้านความมั่นคงทางอาหารที่น้อง ๆ เยาวชนของเมืองแพร่จะทำโครงการทดลองเลี้ยงสัตว์เพื่อผลิตอาหารโปรตีนและช่วยเปลี่ยนขยะเศษอาหารให้เป็นปุ๋ย อันได้แก่ การเลี้ยงไก่ไข่ เป็ดไข่ และไส้เดือนดิน โดยจะนำเข้าร่วมในโครงการ “ความร่วมมือนำร่อง โครงงาน(เชิง)วิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า” ซึ่งสนับสนุนโดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ(ไบโอเทค) สวทช. ต่อไป
ใช้ทุนส่วนตัว โดยได้รับการสนับสนุนกำลังใจจากสหายธรรมและเครือข่ายภาคประชาสังคมอื่น ๆ
เป็นโครงการที่ต้องการสร้างพื้นที่เรียนรู้ร่วมของคนในท้องถิ่นบนฐานธรรม(ชาติ) เพื่อการอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน โดยมีพื้นที่ในโครงการทั้งหมดประมาณ ๑๕ ไร่ แบ่งเป็นป่าบนเขา ๘ ไร่ และพื้นที่ราบ ๗ ไร่ โดยจะเน้นกิจกรรมทางการเกษตร อาหาร และการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน คือใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดคุ้มค่า เพื่อสุขภาพที่ดี และเพื่อการขัดเกลาจิต สิ่งก่อสร้างในพื้นที่จะมีอาคารสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ สถานที่สำหรับการเรียนรู้ธรรม(ห้องพระ) และที่อยู่อาศัยเท่าที่จำเป็น
งานที่ผ่านมาเป็นการเตรียมการด้านสถานที่ ขณะเดียวกันค่อย ๆ สังสรรค์กับผู้คนในท้องถิ่นสนับสนุนให้เข้ามาใช้พื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีกลุ่มเยาวชนจากโครงการชวนดาวเด่นกลับบ้านเกิดเข้ามาใช้พื้นที่ในทำโครงการเลี้ยงสัตว์เป็นกลุ่มแรก
งบประมาณจาก อบจ.แพร่ ดำเนินงานร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมและสภาวัฒนธรรม จ.แพร่ พร้อมทั้งเครือข่ายอื่นๆ
ความหลงใหลในวิถีชีวิตในยุค ๒๕๐๐ ประกอบกับกระแสการท่องเที่ยวตลาดแบบย้อนยุค ทำให้เราอยากทดลองสร้างกิจกรรมที่ต่างออกไปจากเดิม เป็นแหล่งความรู้แบบง่ายๆ ไม่ต้องอ่านในตำรา เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งชั่วคราว และเป็นการรวบรวมกลุ่มคนที่มีความสนใจใกล้เคียงกัน และนำเสนอประวัติศาสตร์ของแพร่ผ่านการจัดงานกึ่งนิทรรศการครั้งนี้
ทุนบางส่วนจากข่ายลูกหลานเมืองแพร่ ,โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน และศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (spafa)
ต่อเนื่องจากกิจกรรม “ผ่อบ้าน แอ่วเมือง” ทำให้เราได้รับรู้ประวัติศาสตร์อีกด้านหนึ่งของเมืองแพร่ในด้านการสาธารณสุข เป็นการแพทย์สมัยใหม่ที่มีมิชชั่นนารีมาตั้งคริสตจักร โรงพยาบาล และโรงเรียน ในเมืองแพร่ เมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว แต่เอกสารและข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรสูญหายไปทั้งหมด จนกระทั่ง ดร.พัชรวีรย์ ตันประวัติและคณะ จาก (spafa) ค้นคว้าข้อมูลใหม่มา เพื่อประชาสัมพันธ์ให้คนแพร่และผู้คนทั่วไปได้รับรู้ พอดีกับที่ทางจังหวัดแพร่ได้เป็นเจ้าภาพงานศิลป์แผ่นดินล้านนา ครั้งที่ ๑๑ จึงเกิดเป็นกิจกรรมครั้งนี้ขึ้น
ตลอดระยะเวลาในการทำงาน 12 ปี ที่ผ่านมา ข่ายลูกหลานเมืองแพร่ ได้ พบปะญาติมิตรมากมาย ทั้งใกล้และไกล ได้ขยายขอบเขตความคิด และก้าวข้ามขีดจำกัดในหลายด้าน เชื่อมร้อยผู้คนทั้งเก่า และใหม่เข้าหากัน เพื่อเล่าเรื่องราวการทำงานและช่วยกันยกย่องญาติมิตรผู้เสียสละ ที่สรรค์สร้างสิ่งดีดีที่จะมีประโยชน์ให้ลูกหลานได้เห็น ตัวอย่างบางส่วนของท่านเหล่านี้ที่จะส่งต่อมรดกวัฒนธรรมให้ยืนยาวต่อไป จัดแสดงที่ จินเจอร์เบลดเฮ้าส์ คาเฟ่ แอนแกลเลอรี่และในบริเวณกาดกองเก่า ในช่วงเย็นวันเสาร์ ใน ช่วง ธันวาคม 2556 ต่อเนื่องถึง เมษายน 2547
โดยการสนับสนุนงบประมาณยุทธศาสตร์จังหวัด และการดูแลด้านเอกสารการเงินโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ ร่วมกับบุคลากรด้านต่างๆ ของจังหวัดแพร่
การขับเคลื่อนเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนของข่ายลูกหลานเมืองแพร่เริ่มตั้งแต่ปี 2544 ชมรมอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองแพร่ขับเคลื่อนเรื่องเมืองเก่าเมืองแพร่ตั้งแต่ปี 2553 นักวิจัยโบราณคดีชาวไทยจากศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาศึกษาเรื่องถ้ำนาตองเมื่อ 5 ปีก่อน และนักวิจัยด้านโบราณคดีชาวญี่ปุ่นมาสำรวจจังหวัดแพร่ 1 ปีที่ผ่านมา การเหล่านี้ทำให้พบว่ายังมีความรู้ท้องถิ่นอีกมากมาย ที่ต้องมีการถ่ายทอดให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้รับรู้และสืบสานความรู้เหล่านั้น
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ครูอาจารย์ รวมถึงภาคประชาสังคม เยาวชนที่ได้เข้าร่วมโครงการ ได้ทราบความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมของเมืองแพร่ ทั้งด้านโบราณคดี สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาอื่น ๆ ได้รู้จักแหล่งโบราณคดีสามารถสร้างกิจกรรมที่เชื่อมโยงเข้าสู่ความรู้ทางโบราณคดี เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดนวัตกรรมต่างๆ นำภูมิปัญญาที่มีอยู่หลากหลายในท้องถิ่น มาทำให้การเรียนการสอนในโรงเรียนสนุกสนาน หรือจับต้องได้มากขึ้น รวมถึงได้ชุดความรู้เพื่อนำไปเผยแพร่ต่อไป
ความคาดหวังประการสำคัญคือ ได้เครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้ท้องถิ่น อันจะทำให้องค์ความรู้ท้องถิ่นมีการเคลื่อนไหว ให้พลังแห่งเครือข่ายนั้นสะท้อนกลับไปพัฒนาในท้องถิ่นต่อไปอย่างเข้าใจและมั่นคง
กิจกรรม “เปิงเป๋นแป้” เชื่อมโยงศิลปะ ดนตรี สู่การพัฒนาคนพัฒนาเมืองบนพื้นที่สาธารณะถนนคนเดิน ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน
พิพิธภัณฑ์โบราณคดีบ้านนาตอง ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่
กิจกรรม ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในกลุ่ม “แพร่คราฟท์”
การอนุรักษ์อาคารในกลุ่มของสภาคริสตจักรในพื้นที่ กศน.แพร่ ,โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน
การอนุรักษ์อาคารในศูนย์ฝึกอบรมที่ 1 (โรงเรียนป่าไม้แพร่)
สิโรฒม์ สกุลหาญ ข้าราชการบำนาญ
วุฒิไกร ผาทอง แก้ววรรณา
ธิติพงษ์ วงศ์เสน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ชินวร ชมภูพันธ์ ชมรมอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองแพร่, ครูสอนศิลปะ
นิศาชล ชมภูพันธ์ ศิลปิน และนักออกแบบ
ธีรวุธ กล่อมแล้ว สถาปนิก
จีรศักดิ์ ธนูมาศ โฮงซึงหลวง
เชษฐา สุวรรณสา กาแฟแห่ระเบิด,นักเขียน ,ศิลปิน